ความเป็นมาของโครงการ
โครงการการจัดทำการประเมินสิ่งแวดล้อมระดับยุทธศาสตร์
สำหรับแผนการพัฒนาเชิงพื้นที่ของจังหวัดสงขลาและปัตตานี
สำหรับแผนการพัฒนาเชิงพื้นที่ของจังหวัดสงขลาและปัตตานี
มติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 14 ธันวาคม 2564 มอบหมายให้สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องร่วมกันจัดให้มีการประเมินสิ่งแวดล้อมระดับยุทธศาสตร์ (Strategic Environmental Assessment: SEA)และแผนแม่บทต่างๆภายใต้เรื่องการดำเนินการขยายผลโครงการเมืองต้นแบบ"สามเหลี่ยมมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน" ไปสู่เมืองต้นแบบที่ 4 อำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา
"เมืองต้นแบบอุตสาหกรรมก้าวหน้าแห่งอนาคต"
การประเมินสิ่งแวดล้อมระดับยุทธศาสตร์ (SEA/ เป็นเครื่องมือสำหรับการสนับสนุนกระบวนการตัดสินใจในการวางแผน โดยคำนึงถึงปัจจัยด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมอย่างสมดุลและให้ความสำคัญกับการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องเพื่อนำไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน ทั้งนี้ในหลักการจัดทำ SEA ที่มีประสิทธิภาพ ควรดำเนินการก่อนการพัฒนาในพื้นที่หรือก่อนเกิดความขัดแย้งขึ้น ดังนั้น การจัดทำ SEA ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 14 ธันวาคม 2564 ซึ่งเป็นกรณีที่มีความเห็นต่างเกิดขึ้นแล้ว จำเป็นต้องดำเนินการอย่างรอบคอบและต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกภาคส่วน
สศช. จึงได้จัดประชุมรับฟังความคิดเห็นสำหรับการจัดทำแผนพัฒนาด้วย SEAตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 14 ธันวาคม 2564 จากภาคส่วนต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ - มีนาคม 2565 เพื่อรับฟังความคิดเห็นในประเด็นสำคัญที่เป็นปัจจัยแห่งความสำเร็จ (Key Success Factors) สำหรับการจัดทำ SEA ประกอบด้วย
(1) ความคาดหวังต่อการจัดทำแผนพัฒนา โดยใช้ SEA เป็นเครื่องมือ (2) ประเด็นข้อห่วงใยเกี่ยวกับการพัฒนาในพื้นที่ (3) แผนพัฒนาที่ควรใช้ SEA ในการจัดทำ (4) พื้นที่ขอบเขตการศึกษาและระยะเวลาในการดำเนินการ (5) ประเด็นอ่อนไหวหรือข้อพึงระวังในการดำเนินการ และ (6) เกณฑ์การคัดเลือกผู้ทรงคุณวุฒิที่จะเป็นคณะกรรมการกำกับการจัดทำ SEA ซึ่งสรุปได้ว่าเนื่องจากจังหวัดปัตตานี เป็นพื้นที่ที่มีความเชื่อมโยงกับจังหวัดสงขลา ทั้งในด้านวิถีชีวิตของประชาชนและระบบนิเวศทางทะเลและชายฝั่ง ดังนั้นจึงควรจัดทำ SEA สำหรับแผนแม่บทการพัฒนาเชิงพื้นที่ในจังหวัดสงขลาและปัตตานี เพื่อให้ตอบโจทย์ความต้องการของผู้มีส่วนได้เสียอย่างแท้จริงและนำไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน
(1) ความคาดหวังต่อการจัดทำแผนพัฒนา โดยใช้ SEA เป็นเครื่องมือ (2) ประเด็นข้อห่วงใยเกี่ยวกับการพัฒนาในพื้นที่ (3) แผนพัฒนาที่ควรใช้ SEA ในการจัดทำ (4) พื้นที่ขอบเขตการศึกษาและระยะเวลาในการดำเนินการ (5) ประเด็นอ่อนไหวหรือข้อพึงระวังในการดำเนินการ และ (6) เกณฑ์การคัดเลือกผู้ทรงคุณวุฒิที่จะเป็นคณะกรรมการกำกับการจัดทำ SEA ซึ่งสรุปได้ว่าเนื่องจากจังหวัดปัตตานี เป็นพื้นที่ที่มีความเชื่อมโยงกับจังหวัดสงขลา ทั้งในด้านวิถีชีวิตของประชาชนและระบบนิเวศทางทะเลและชายฝั่ง ดังนั้นจึงควรจัดทำ SEA สำหรับแผนแม่บทการพัฒนาเชิงพื้นที่ในจังหวัดสงขลาและปัตตานี เพื่อให้ตอบโจทย์ความต้องการของผู้มีส่วนได้เสียอย่างแท้จริงและนำไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน
เมื่อวันที่ 1 มิถุนายน 2565 นายกรัฐมนตรีรับทราบความก้าวหน้าและแผนการดำเนินงานการจัดทำ SEA สำหรับแผนแม่บทการพัฒนาเชิงพื้นที่ของจังหวัดสงขลาและปัตตานีโดยวิธีการจ้างที่ปรึกษา ระยะเวลาดำเนินการ 18 เดือน และการแต่งตั้งคณะกรรมการกำกับการจัดทำการประเมินสิ่งแวดล้อมระดับยุทธศาสตร์ สำหรับแผนแม่บทการพัฒนาเชิงพื้นที่ของจังหวัดสงขลาและปัตตานี ซึ่งมีองค์ประกอบรวมจำนวน 21 คน โดยมีเลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติและปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีเป็น ประธานร่วมและมีผู้อำนวยการสำนักงบประมาณและเลขาธิการสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม พร้อมทั้งผู้ทรงคุณวุฒิด้านต่าง ๆ จำนวน 12 คน ร่วมเป็นกรรมการเพื่อทำหน้าที่ให้ความเห็นประกอบการจัดทำขอบเขตงานจ้างที่ปรึกษา (TOR) ในการจัดทำ SEA รวมทั้งกำกับให้ข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะในการจัดทำ SEA สำหรับแผนแม่บทการพัฒนาเชิงพื้นที่ของจังหวัดสงขลาและปัตตานี
เพื่อให้เป็นไปตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 14 ธันวาคม 2564 และตอบโจทย์ความต้องการของผู้มีส่วนได้เสียอย่างแท้จริง สศช. จึงดำเนินกระบวนการจ้างที่ปรึกษาโดยวิธีคัดเลือกตามระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 อย่างโปร่งใสและได้มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์มาดำเนินโครงการการจัดทำการประเมินสิ่งแวดล้อมระดับยุทธศาสตร์สำหรับแผนแม่บทการพัฒนาเชิงพื้นที่ของจังหวัดสงขลาและปัตตานี
วัตถุประสงค์
เพื่อจัดทำแผนแม่บทการพัฒนาเชิงพื้นที่ของจังหวัดสงขลาและปัตตานี โดยใช้การประเมินสิ่งแวดล้อมระดับยุทธศาสตร์
ตามแนวทางการประเมินสิ่งแวดล้อมระดับยุทธศาสตร์ (สศช. 2564) เพื่อจัดทำแผนให้สอดคล้องกับศักยภาพของพื้นที่คำนึงถึงความสมดุลของการพัฒนา ทั้งในมิติเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม และให้ความสำคัญกับการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง ที่จะนำไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน
เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจและเผยแพร่ประชาสัมพันธ์
การจัดทำการประเมินสิ่งแวดล้อมระดับยุทธศาสตร์ สำหรับแผนแม่บทการพัฒนาเชิงพื้นที่ ตลอดจนเพื่อให้มีเวทีสำหรับแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้าน SEA ให้กับภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง และเพื่อสนับสนุนการขับเคลื่อน SEA ของประเทศในระยะต่อไป